ให้ Feedback คอมเม้นต์อย่างไรไม่ให้ผิดใจกัน

ให้ Feedback คอมเม้นต์อย่างไรไม่ให้ผิดใจกัน

การให้ Feedback หรือความคิดเห็นต่อสิ่งที่ผู้อื่นทำ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นคนใกล้ชิด เช่น พี่ น้อง แฟน หรือคนที่ห่างออกไปอีกซักนิด เช่น เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง คือสิ่งที่ควรทำ เพื่อช่วยพัฒนาพวกเขาให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจในสิ่งที่พวกเขาทำ และอาจจะสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้ด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตด้านความคิด และการทำงานในอนาคต

แต่การให้ Feedback นั้นต้องทำให้ดีด้วย ผู้ให้ Feedback ต้องรู้จักสื่อสารให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ที่รับ Feedback เห็นภาพชัด แต่หลายครั้งผู้ให้ Feedback อาจทำผิดพลาดเอง สื่อสารไม่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้ได้รับ Feedback เข้าใจผิด อาจจะนำมาซึ่งการปรับตัวที่ไม่ตรงจุด หรืออาจจะทำให้ผู้สื่อสารและผู้รับสารผิดใจกันก็เป็นได้

ดังนั้นเทคนิคง่าย ๆ ที่อยากจะนำมาแบ่งปันกันวันนี้เพื่อทำให้การให้ Feedback ต่อคนรอบตัวเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็คือการให้ Feedback ที่เรียกว่า F.B.I. ซึ่งเทคนิคนี้ผมได้รับไอเดียมาจาก https://simonsinek.com/commit/feedback-and-recognition/

F.B.I. แน่นอนว่าไม่ได้ย่อมาจาก FBI หรือ Federal Bureau of Investigation ที่เราเคยได้ยินกัน แต่ FBI ย่อมาจาก 3 คำดังนี้

F = Feeling
B = Behaviour
I = Impact

เรามาดูกันทีละตัว

Feeling คือ อารมณ์ ความรู้สึก ที่เรามีต่อการกระทำนั้น ๆ เช่น ถ้าทีมงานมาทำงานสาย เราอาจจะมีอารมณ์ไม่พอใจ หงุดหงิด โกรธ

Behaviour คือ การกระทำ ที่เขาทำ การกระทำที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้น เช่น การมาทำงานสาย การไม่มาตามนัด การพูดโกหก เหล่านี้เป็นต้น

Impact คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น เช่น ทำให้งานไม่เดิน ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

เมื่อเข้าใจ 3 คำนี้แล้ว ลองใช้ 3 คำนี้ในการให้ Feedback กับผู้อื่นดู

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเพื่อนร่วมงานมาสาย เราสามารถบอกเขาได้ว่า

ฉันรู้สึกผิดหวัง (Feeling) ที่คุณทำงานผิดพลาดเมื่อวันพุธ (Behaviour) ทำให้ฉันไม่มั่นใจในการทำงานของคุณ ว่าจะมีผิดพลาดอีกหรือไม่ (Impact)

หรือ เมื่อเช้าที่คุณมาสายไปครึ่งชม.(Behaviour) ทำให้ผมรู้สึกว่าคุณไม่พร้อม (Feeling) ส่งผลให้ผมไม่มั่นใจที่จะทำงานกับคุณในโปรเจคนี้ (Impact)

จะสังเกตได้ว่า การใช้ทั้งสาม message นี้ ไม่ว่าจะเป็น Feeling ที่ฉันรู้สึก Behaviour ที่คุณกระทำ และ Impact ผลลัพท์ที่ได้รับ นั้น ทำให้ผู้ได้รับ Feedback เห็นภาพชัดเจนว่า อะไรบ้างที่เกิดขึ้นเพราะการกระทำของเขา และมันส่งผลกับเราอย่างไร และส่งผลในวงกว้างอย่างไร

อย่างไรก็ตาม การใช้ FBI ไม่จำเป็นต้องเรียง Feeling, Behaviour, และ Impact ตามลำดับเสมอไป ดังตัวอย่าง คุณสามารถเรียง Behaviour ขึ้นก่อนแล้วตามด้วย Feeling ก็ได้

และการบอก Behaviour นั้น จำเป็นต้องบอก “โดยละเอียด” ดังตัวอย่างจะบอกว่า การทำงานผิดพลาดเมื่อวันพุธ หรือการมาสายเมื่อเช้านี้ จำทำให้ผู้ได้รับ Feedback เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น

แต่การให้ Feedback อย่างเดียว อาจจะยังไม่ถึงจุดที่จะพาให้ผู้ฟังสามารถ “เปลี่ยน”​ ตัวเองได้ในทันใด

มนุษย์น้อยคนจะยอมทำตามคำสั่งด้วยความเต็มใจ หลายครั้งทำตามหน้าที่ หรือทำด้วยความกลัว แต่การเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำด้วยความเต็มใจ

ดังนั้นเมื่อให้ Feedback ที่ดีได้แล้ว จะทำอย่างไรให้เขารู้สึกมีพลัง และเต็มใจอยากจะเปลี่ยน

เราสามารถถามได้ด้วยการ ถามผู้ที่ได้รับ Feedback ง่าย ๆ ว่า “คุณเห็นด้วยไหม” และ “คุณคิดว่าจะสามารถเปลี่ยนเพื่อพวกเราได้ไหม”

การถามคำถามเช่นนี้เป็นเหมือนการ confirm กับผู้ได้รับสารว่า เขายินดีหรือไม่ยินดีที่จะเปลี่ยน ซึ่งคำจำนวนมากมักจะตอบกลับว่า “ยินดี” แม้ว่าพวกเขาอาจจะกำลัง งงๆ กันอยู่ก็ได้ แต่การรับปากนั้นสำคัญยิ่ง เมื่อพวกเขา confirm แล้วว่าจะเปลี่ยน จะแก้ไข พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนมากกว่าคนที่แค่ฟัง Feedback เฉย ๆ

ดังนั้นขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับการให้ Feedback ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและคนใกล้ชิดนะครับ

เพราะการให้ Feedback ที่จริงใจ คือการสื่อสารถึงความหวังดี อยากให้คนรอบตัวได้พัฒนาตนเองและความคิด ดังนั้นผู้ที่ให้ Feedback กับทีมงานได้เป็นอย่างดี จะทำให้ผู้นั้นได้รับ “Trust” หรือความไว้วางใจจากทีม ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานและดำเนินชีวิตเลยทีเดียว

คุณสามารถฟังเรื่องนี้ทาง Podcast ของผมได้ที่

Up Next:

เมื่อหลับตาลงบนโลกใบหนึ่ง แล้วตื่นขึ้นมาพบว่าเราอยู่บนโลกอีกใบหนึ่ง

เมื่อหลับตาลงบนโลกใบหนึ่ง แล้วตื่นขึ้นมาพบว่าเราอยู่บนโลกอีกใบหนึ่ง