ทำให้ทีมอยากเรียนรู้ตลอดเวลาได้อย่างไร

ทำให้ทีมอยากเรียนรู้ตลอดเวลาได้อย่างไร

ไม่ว่าบริษัทจะเล็กหรือใหญ่ ดำเนินธุรกิจมานานหรือเพิ่งเริ่ม ทุกธุรกิจล้วนจำเป็นต้องพัฒนาทีมงานของตัวเองอยู่เสมอ ผมจำคำที่ Guy Kawasaki หนึ่งในบุคคลระดับตำนานที่เคยทำงานกับบริษัท Apple พูดว่า “มีแต่คนเกรด A เท่านั้นที่อยากทำงานกับคนเกรด A+ ส่วนคนเกรด B จะอยากทำงานกับคนเกรด C และคนเกรด C จะอยากทำงานกับคนเกรด D” ไล่ลงไปเช่นนี้เรื่อย ๆ

มีเฉพาะคนเก่งเท่านั้นที่อยากทำงานกับคนเก่งกว่า มีความสามารถมากกว่า และมีแต่คนที่ไม่ได้เรื่องเท่านั้นที่อยากทำงานกับคนโง่กว่า ฉลาดน้อยกว่า เพราะอยากให้ตัวเองดูโดดเด่นและฉลาดที่สุดในกลุ่ม หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกว่าการทำธุรกิจของคุณนั้นยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนการปีนภูเขาเอเวอเรสต์ การปีนเขาที่แสนจะยากเย็น และเสี่ยงกับความตาย คำถามคือ คุณอยากจะชวนคนที่เก่งกว่า มีความสามารถมากกว่า หรือคุณอยากจะชวนคนที่ความสามารถน้อยกว่า และเป็นตัวถ่วงไปปีนเขาสูงเสี่ยงตายร่วมกับคุณ

ดังนั้นไม่ว่าบริษัทจะเล็กหรือใหญ่ ดำเนินธุรกิจมานานหรือเพิ่งเริ่ม ทุกธุรกิจล้วนจำเป็นต้องพัฒนาทีมงานของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีคนเก่งกว่าในหลากหลายด้าน แต่คำถามที่สำคัญคือ แล้วเราจะพัฒนาทีมงานของเราได้อย่างไร MULTIFREQUENTIETRAINING – OPBOUWBLADEN lijst van kamagra bijwerkingen beste training om massa op te bouwen (natuurlijke bodybuilding).

คำตอบแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ การส่งทีมงานไปเทรนนิ่ง ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียน สถาบันและงานบรรยายมากมายที่พร้อมให้ความรู้ในสาขาต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีการเรียนแบบออนไลน์ ของทั้งในและต่างประเทศ

หลายบริษัทจะมีโควต้าให้พนักงานได้เรียนสิ่งที่ตนสนใจ หลายบริษัทจะกำหนดจำนวนชั่วโมงเวลาที่พนักงานแต่ละคนจะได้รับการเทรนนิ่ง หลายบริษัทมีเทคนิคให้พนักงานต้องกลับมาทบทวนความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาด้วยการสอนคนภายในบริษัท แต่สิ่งที่คุณอาจจะสังเกตได้คือทีมงานของคุณมักจะไม่มีการพัฒนาด้านการทำงานเพิ่มขึ้นเท่าที่คุณคาดหวังไว้

ทั้งนี้การพัฒนาได้ไม่มากดังที่คาดหวังไว้นั้น ไม่ได้เกิดจากสถาบัน หรือคนสอน และแน่นอนว่าไม่ได้เกิดจากทีมงานที่ไปเรียนด้วยเช่นกัน 

แล้วมันเกิดจากอะไร? แล้วถ้าจะเทรนคนให้เก่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราควรจะทำอย่างไร?

เป็นคำถามที่หลายคนถามผมบ่อย และคำตอบของผมไม่ได้เริ่มจากการส่งคนไปเรียน หรือเทรนนิ่งเพิ่ม แต่คำตอบที่ผมจะบอกให้ไปสร้าง Challenge หรือความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับทีมงาน ซึ่งความท้าทายหมายถึงการเปิดโอกาสให้ทีมงานได้ลองทำสิ่งใหม่ ทำในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ ทำในเรื่องที่เขาไม่คุ้นเคย

เพราะการให้ความท้าทายใหม่เป็นการเทรนนิ่งที่ดีที่สุด

หลายครั้งที่ทีมงานถูกส่งไปเรียน แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่พวกเขาสนใจ แต่เมื่อเรียนจบกลับมาแล้วพวกเขากลับไม่รู้ว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปทำอะไร ความจริงแล้วพวกเขาไม่สามารถจินตนาการได้ตั้งแต่กำลังเรียนแล้วด้วยซ้ำว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้มาจะมีผล หรือจะไปพัฒนาต่อการทำงานส่วนไหนของเขา

การสร้างความท้าทายใหม่ เป็นเหมือนการคิดกลับด้านด้วยการสร้างเป้าหมายให้เป็นจุดเริ่มต้น และเป้าหมายจะทำให้เขารู้ว่าเขาจะเรียนอะไร และจะเรียนไปทำไม

ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการสร้างความท้าทายนั้น ผมเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบ Pixar บริษัท Pixar Animation Studios เป็นบริษัทที่ผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นอันดับต้น ๆ ของโลก สร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่เราคุ้นตากันดีอย่าง Toy Story, Monster Inc และ Finding Nemo เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่ Pixar ทำเป็นประจำทุกครั้งเมื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ คือกำหนด Challenge ใหม่ ๆ ให้กับทีม ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Finding Nemo พวกเขาได้สร้างความท้าทายด้วยการทำให้เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ดำเนินอยู่ใต้น้ำ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทีมผู้สร้างไม่คุ้นเคย ไม่เคยทำ ซึ่งความท้าทายที่ยิ่งใหญ่นี้ ทำให้ทีม Pixar ถึงกับต้องออกกฎขึ้นมาเฉพาะสำหรับทีมที่ทำแอนิเมชั่นเรื่อง Finding Nemo ว่า “ทุกคนที่จะทำภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ต้องไปสอบเรียนดำน้ำให้ได้ Certificate

Ursachen Für Erektile Dysfunktion

สำเร็จเสียก่อน”

และทุกครั้งก็เป็นเช่นนั้น ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Monster Inc. มีความท้าทายเรื่องการสร้างขนที่ปุกปุยนุ่ม ของ Sulley Monster ตัวสีฟ้าร่างใหญ่ หรือภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Brave มีความท้าทายด้านการสร้างเสื้อผ้าหลายชั้นที่สามารถยืดหยุ่นได้ ประกอบกับเส้นผมหยิก แต่เด้งของนางเอก ซึ่งเป็นลักษณะเส้นผมที่ Pixar ไม่เคยทำ เพราะหากเราจะนึกย้อนกลับไป ไม่เคยมีภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องไหนของ Pixar เลย ที่เจ้าหญิงเป็นคนผมหยิก

อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ด้วยการสร้างความท้าทายเช่นนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าผู้นำไม่เปิดโอกาสให้ทีมงานอย่างเต็มที่ เพราะการจะได้มาซึ่งบทเรียนอาจจะต้องผ่านความล้มเหลวไม่มากก็น้อย หากเราจะหวังให้ทีมเรียน และปฎิบัติได้โดยไม่ผิดพลาดเลย ก็คงยากที่บริษัทจะเดินทางเข้าสู่เส้นทางใหม่ ๆ ดังนั้นผู้นำต้องให้โอกาสสำหรับการลองสิ่งใหม่ และให้อภัยเมื่อผิดพลาด เพราะไม่ว่าจะสำเร็จหรือผิดพลาด ล้วนเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับทีมงานทั้งสิ้น

การเรียนในทุกวันนี้ไม่ใช่การท่องจำ อยากให้ทีมงานเรียนรู้ตลอดเวลาให้ทันโลกที่หมุนไว ผู้นำต้องหมุนไวทันโลก เปิดโอกาสให้กับทีม ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นหนึ่งในหนทางที่จะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับบริษัทด้วยเช่นกัน

บทความนี้เขียนที่ Krungsri Business Empowerment

Bodybuilding training deltaspier en triceps dorian yates bloed ingewanden – bodybuilding analogen Stanozolol hoe u uw perfecte trainingsroutine opbouwt: geheimen van bodybuilding en spiertraining.
Tips voor sportvoeding tips voor bodybuilding: energie krijgen met pre-workoutsupplementen Deca Durabolin medisch gebruik wat is het probleem met het vegetarische bodybuilding-fitnessnew us workouts healthy food-team.
Curiosity CTC2020 by Geng Sittipong
Up Next:

พลังของความช่างสงสัย Power of Curiosity

พลังของความช่างสงสัย Power of Curiosity